รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย – มีนบุรี) แก้ไข

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เป็นโครงการตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยกำหนดให้เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง (Straddle Monorail) สายแรกของประเทศไทย ก่อสร้างเป็นทางยกระดับตลอดเส้นทาง รวมระยะทางประมาณ 34.5 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี ซึ่งแนวเส้นทางรถไฟฟ้าจะผ่านที่พักอาศัย สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล และศูนย์การค้าหลายแห่ง
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะช่วยรองรับการเดินทางในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ทำให้การเดินทางในกรุงเทพฯ ด้วยรถสาธารณะเป็นไปด้วยควมสะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งช่วยบรรเทาปัญหาด้านการจราจรและลดปัญหาด้านมลพิษในเขตเมือง ช่วยกระจายความเจริญจากในเมืองไปสู่ชานเมือง อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่นๆ ให้ต่อเนื่องกันเป็นระบบและครบวงจร
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย – มีนบุรี
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีระยะทางประมาณ 34.5 กิโลเมตร โครงการยมีจุดเริ่มต้นบนถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณด้านหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายบริเวณแยกแครายเข้าสู่ถนนติวานนท์และวิ่งตามถนนติวานนท์ผ่านหน้าสถาบันโรคทรวงอกแยกสนามบินน้ำและวัดชลประทานรังสฤษดิ์ จนถึงบริเวณ 5 แยกปากเกร็ด จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะผ่านศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ผ่านทางด่วนขั้นที่ 2 (ศรีรัช) ผ่านศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ผ่านแยกหลักสี่ โดยลอดใต้ทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลเวย์) ข้ามแยกหลักสี่และผ่านวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ จากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งตามถนนรามอินทราและยกระดับข้ามทางด่วนพิเศษฉลองรัชที่บริเวณแยกวัชรพลแล้ววิ่งไปจนถึงแยกมีนบุรี จากนั้นวิ่งเข้าเมืองมีนบุรีตามถนนสีหบุรานุกิจ ข้ามคลองสามวาและเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบผ่านพื้นที่ว่างและเข้าสู่ถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) โดยมีจุดสิ้นสุดโครงการที่ทางแยกร่มเกล้าบริเวณซอยรามคำแหง 192 รวมมีสถานีรับส่งผู้โดยสาร 30 สถานีและศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร 1 แห่ง
เส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-เตาปูน ที่ดำเนินการก่อสร้างพร้อมกันนั้น มีเส้นทางเริ่มต้นจากอุโมงค์สถานีใต้ดินของสถานีบางซื่อในปัจจุบัน ขึ้นสู่ระดับดินบริเวณหน้าที่ทำการบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และจะเป็นสถานียกระดับมุ่งหน้าสะพานสูงบางซื่อ และถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ก่อนเข้าสู่ชานชาลาชั้นล่างของสถานีเตาปูนตามแนวทิศตะวันตก – ตะวันออก ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร ดังนั้นรถไฟฟ้าสายสีม่วงจึงไม่ได้เข้าสู่สถานีบางซื่อโดยตรง แต่เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงินช่วงดังกล่าวโดยเข้าสู่ชานชาลาชั้นบนของสถานีเตาปูนตามแนวทิศเหนือ-ใต้ ซึ่งเป็นเส้นทางต่อเนื่องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ ทางทิศใต้
จุดเชื่อต่อรถไฟฟ้าสายอื่นๆและจุดเชื่อมอาคาร จากสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู
ชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีฟ้า (รหัส) | รูปแบบสถานี | สถานีเชื่อมต่อเข้าอาคาร | สถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้า |
---|---|---|---|
สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ (W1) | - | สยามดิสคัฟเวอรี่, หอศิลป์วัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร, เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ | - |
สถานีรถไฟฟ้าสยาม (CEN) | - | เซ็นทรัลเวิลด์, สยามสแควร์วัน, สยามเซ็นเตอร์, สยามพารากอน, เอราวัณบางกอก, อัมรินทร์พลาซ่า, เกษรพลาซา | ![]() |
สถานีรถไฟฟ้าราชดำริ (S1) | - | - | - |
สถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง (S2) | - | ศูนย์การค้าสีลมคอมเพล็กซ์, อาคารธนิยะ, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ![]() |
สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี (S3) | - | อาคารสาธรธานี, อาคารสาธรสแควร์, อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์, อาคารมหานคร | ![]() ![]() |
สถานีรถไฟฟ้าศึกษาวิทยา (S4) | - | - | - |
สถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ (S5) | - | โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาธร | - |
สถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน (S6) | - | - | - |
สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี (S7) | - | - | ![]() |
สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ (S8) | - | - | ![]() ![]() |
สถานีรถไฟฟ้าโพธิ์นิมิตร (S9) | - | - | |
สถานีรถไฟฟ้าตลาดพลู (S10) | - | - | ![]() |
สถานีรถไฟฟ้าวุฒากาศ (S11) | - | - | ![]() |
สถานีรถไฟฟ้าบางหว้า (S12) | - | - | ![]() |
ที่ตั้ง สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู ทุกสถานี
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีจุดเริ่มต้นโครงการที่ถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณด้านหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี โครงการรถไฟฟ้าสายสรชมพูจะไปสิ้นสุดที่ทางแยกร่มเกล้าบริเวณซอยรามคำแหง 192 มีจุดเชื่อมต่อโครงข่ายที่สามารถเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างโครงการได้ 4 จุด มีรายละเอียดดังนี้
- จุดที่ 1 PK01 สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสีม่วง (สายฉลองรัชธรรม) ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
- จุดที่ 2 PK14 สถานีหลักสี่ เชื่อมต่อกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง??? ช่วงบางซื่อ-รังสิต
- จุดที่ 3 PK16 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่
- จุดที่ 4 PK30 สถานีมีนบุรี สามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแครย – มีนบุรี มีรวมระยะทางประมาณ 34.5 กิโลเมตร มีสถานีรับส่งผู้โดยสาร 30 สถานี โดยมีรายละเอียดที่ตั้งของสถานีรถไฟฟ้าแต่ละสถานีดังนี้
- สถานีรถไฟฟ้าศูนย์ราชการนนทบุรี สถานีต้นทางตั้งอยู่ริมถนนรัตนาธิmเบศร์ บริเวณหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีและบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสีม่วง (สายฉลองรัชธรรม) ช่วง บางใหญ่-บางซื่อ
- สถานีรถไฟฟ้าแคราย ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ บริเวณด้านหน้าสถาบันทรวงอก
- สถานีรถไฟฟ้าสนามบินน้ำ ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ใกล้กับสามแยกสนามบินน้ำ
- สถานีรถไฟฟ้าสามัคคี ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์อยู่ระหว่างซอยสามัคคีกับคลองบางตลาด
- สถานีรถไฟฟ้ากรมชลประทาน ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์บริเวณด้านหน้าโรงเรียนชลประทานวิทยา
- สถานีรถไฟฟ้าแยกปากเกร็ด ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมทางแยกปากเกร็ดระหว่างถนนติวานนท์กับถนนแจ้งวัฒนะ
- สถานีรถไฟฟ้าเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์และโฮมโปร ก่อนถึงทางแยกตัดกับถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
- สถานีรถไฟฟ้าแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
- สถานีรถไฟฟ้าเมืองทองธานี ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 35 ก่อนถึงทางด่วนศรีรัช ใกล้กับหมู่บ้านเมืองทองธานี
- สถานีรถไฟฟ้าศรีรัช ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าสำนักงานซ่อมบำรุงกรมทางหลวงและห้างแม็คโครซุปเปอร์สโตร์ สาขาแจ้งวัฒนะ
- สถานีรถไฟฟ้าแจ้งวัฒนะ 14 ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าตลาดพงษ์เพชรและชุมสายโทรศัพท์แจ้งวัฒนะ
- สถานีรถไฟฟ้าศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้ากรมการกงศุล ใกล้กับศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
- สถานีรถไฟฟ้าทีโอที ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
- สถานีรถไฟฟ้าหลักสี่ ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดถนนแจ้งวัฒนะและถนนวิภาวดีรังสิตสามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง??? ช่วงบางซื่อ-รังสิต
- สถานีรถไฟฟ้าราชภัฏพระนคร สถานีสุดท้ายบนถนนแจ้งวัฒนะ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และ Max Valu Supermarket (หลักสี่สแควร์)
- สถานีรถไฟฟ้าวัดพระศรีมหาธาตุ ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่
- สถานีรถไฟฟ้ารามอินทรา กม.3 สถานีแรกบนถนนรามอินทราตั้งอยู่บริเวณหน้าโครงการลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่ และศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก
- สถานีรถไฟฟ้าลาดปลาเค้า ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราระหว่างซอยรามอินทรา 21 และซอยรามอินทรา 23
- สถานีรถไฟฟ้ารามอินทรา กม.4 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา บริเวณซอยรามอินทรา 31
- สถานีรถไฟฟ้ามัยลาภ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราหน้าปากซอยรามอินทรา 41 ใกล้กับสามแยกมัยลาภ
- สถานีรถไฟฟ้าวัชรพล ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ถัดจากทางพิเศษฉลองรัช บริเวณซอยรามอินทรา 59 และซอยรามอินทรา 61
- สถานีรถไฟฟ้ารามอินทรา กม.6 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 40 และซอยรามอินทรา 42
- สถานีรถไฟฟ้าคู้บอน ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 69 และซอยรามอินทรา 46
- สถานีรถไฟฟ้าสินแพทย์ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้กับโรงพยาบาลสินเพทย์ ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 83 และซอยรามอินทรา 85
- สถานีรถไฟฟ้าวงแหวนตะวันออก ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราถัดจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก
- สถานีรถไฟฟ้านพรัตน์ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราปากซอยสวนสยามถัดมาจากโรงพยาบาลนพรัตน์เพียงเล็กน้อย
- สถานีรถไฟฟ้าบางชัน ตั้งอยู่บนถนนบริเวณซอยรามอินทรา 115 และใกล้กับซอยรามอินทรา 109 (ซอยพระยาสุเรนทร์) และซอยรามอินทรา 113
- สถานีรถไฟฟ้าเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราใกล้กับโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญปากซอยรามอินทรา 123 และ บริษัท สยามนิสสันสแตนดาร์ด จำกัด
- สถานีรถไฟฟ้าตลาดมีนบุรี สถานีแรกบนถนนสีหบุรานุกิจ ตั้งอยู่บริเวณหน้าตลาดนัดจตุจักร 2
- สถานีรถไฟฟ้ามีนบุรี ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหง บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงของระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพูฯ ใกล้กับถนนรามคำแหง เป็นสถานีปลายทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี
ระบบรถไฟฟ้าสายสีชมพู
- ระบบรถไฟฟ้า เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง (Straddle Monorail) ซึ่งเป็นสายแรกของประเทศไทย ก่อสร้างเป็นทางยกระดับตลอดเส้นทาง วิ่งด้วย ความเร็วเฉลี่ย 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง วิ่งบนรางความชันสูงสุดไม่เกิน 6% รัศมีเลี้ยวโค้ง 70 เมตร รองรับผู้โดยสารสูงสุดได้ประมาณ 28,000 คน/ทิศทาง อาศัยการเคลื่อนที่ของล้อยางคร่อมบนคานเดี่ยว ตัวรถมีขนาดกว้างกว่าตัวคาน
- ข้อมูลทางเทคนิคของระบบ มีระบบ 2 เพลาและระบบ 4 เพลา ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า 750V dc และ 1,500V dc จากรางไฟฟ้าทั้งสองข้าง จ่ายกระแสไฟฟ้าจากรางจ่ายไฟ (Power Rails)
- โครงสร้างทางวิ่ง โครงสร้างของระบบรถไฟฟ้า Monorail เป็นคานคอนกรีตรูปตัวไอ วางบนตอม่อ มีระยะห่างช่วงเสาประมาณ 20-30 เมตร โดยระยะห่างระหว่างศูนย์กลางทางวิ่งในทางตรงควรมีระยะ 3.70 เมตร ในขณะที่บริเวณทางโค้งระยะห่างของโครงสร้างควรเพิ่มตามรัศมีความโค้ง
- ศูนย์ซ่อมบำรุงอาคารจอดแล้วจร ศูนย์ซ่อมบำรุงอาคารจอดแล้วจรของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีจำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณแยกร่มเกล้า เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงหลักของโครงการประกอบด้วยอาคารจอดรถ 3 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 3,000 คัน (1,000 คัน/ชั้น) อาคารซ่อมบำรุงหลักและอาคารควบคุมการเดินรถสำหรับรองรับการซ่อมบำรุง 7 ช่องทาง
คอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีชมพู
บ้านใกล้รถไฟฟ้าสายสีชมพู
บ้านทาวน์โฮมใกล้รถไฟฟ้าสายสีชมพู
สถานที่ใกล้เคียง รถไฟฟ้าสายสีชมพู
สถานที่ท่องเที่ยวแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าได้ที่
175 ถ.พระราม 9 ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 2716 4000
โทรสาร:2716 4019
Call Center: 2716 4044
อีเมลล์: PR@mrta.co.th
เว็บไซต์: https://www.mrta.co.th