รถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร)

รถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) เป็นโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางโครงการหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กำหนดการก่อสร้าง พ.ศ. 2553-2572 โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นเส้นทางใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 พร้อมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเทา ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ที่เชื่อมต่อจุดสำคัญใจกลางเมือง
โครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) มีจุดมุ่งหมายเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ย่านดินแดง ซึ่งมีโครงการพัฒนาย่านมักกะสัน เคหะชุมชนดินแดง และการเปิดใช้ศาลาว่าการกรุงเทพฯ 2 ระยะที่ 2-4 ทั้งนี้เพื่อเชื่อมต่อย่านธุรกิจบนถนนสาทร โดยมีแนวเส้นทางจากเคหะชุมชนดินแดง เข้าสู่ศูนย์คมนาคมมักกะสัน (สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง) ไปยังถนนวิทยุ และถนนสาทร เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีฟ้า รวมระยะทาง 9.5 กิโลเมตร โดยคาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 319,000 รายต่อวันในปี พ.ศ. 2572
ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้านี้ ได้นำมาบรรจุลงไปใหม่ ในแผนแม่บทระยะที่ 1 (M Map1) มีประกาศยืนยันโครงการโดยกรมการขนส่งทางราง เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โดยกำหนดการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้าให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2572
รายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร)
- ชื่อโครงการรถไฟฟ้า : รถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร)
- • ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า : กรุงเทพมหานคร
- วันเริ่มโครงการรถไฟฟ้า : พ.ศ. 2562
- วันเปิดใช้โครงการรถไฟฟ้า : พ.ศ. 2572 (ประมาณ)
- จำนวนสถานีรถไฟฟ้า : 9 สถานี
- เส้นทางเดินรถไฟฟ้า : ดินแดง – สาทร
- ระยะทาง : 9.5 กิโลเมตร (ประมาณ)
- รูปแบบรถไฟฟ้า : รูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล)
- ผู้ผลิตขบวนรถไฟฟ้า : ยังไม่เปิดเผย
- รูปแบบสถานีรถไฟฟ้า : สถานีรถไฟฟ้าบนเส้นทางยกระดับความสูง 14 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน
- จุดเชื่อมระบบขนส่งมวลชน อื่นๆ : รถไฟฟ้าสายสีส้ม, รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน, รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT), รถไฟฟ้าสายเขียวเข้ม (BTS สายสุขุมวิท), รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT), รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (BTS สายสีลม) และรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT)
พื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้า
โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) สายสีฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ก่อสร้างโครงการตลอดเส้นทางเดินรถ ในเขตดินแดง, เขตราชเทวี, เขตปทุมวัน, เขตบางรัก และเขตสาทร ของจังหวัดกรุงเทพมหานคร
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีฟ้า ดินแดง-สาทร
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีฟ้า เป็นเส้นทางยกระดับที่ความสูง 14 เมตรจากระดับพื้นดิน เริ่มต้นจากแนวถนนบริเวณที่ตั้งของศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 จากสถานีประชาสงเคราะห์ ของรถไฟฟ้าสายสีส้ม ลงมาทางทิศใต้ตามแนวถนนประชาสงเคราะห์ ผ่านเคหะชุมชนดินแดง แยกประชาสงเคราะห์ จุดตัดถนนดินแดง เส้นทางรถไฟฟ้ายกระดับข้ามทางพิเศษศรีรัชบริเวณบึงมักกะสัน เข้าสู่พื้นที่ของศูนย์คมนาคมมักกะสัน โดยวิ่งไปทางทิศตะวันออกตามแนวเขตทางที่เตรียมไว้สำหรับระบบรางเดี่ยวภายในศูนย์ฯ ผ่านสถานีมักกะสัน เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนอโศก-ดินแดง เลี้ยวขวาอีกครั้งที่แยกอโศก-เพชรบุรี เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรี ผ่านแยกมิตรสัมพันธ์ จุดตัดถนนนิคมมักกะสัน และซอยนานาเหนือ
รถไฟฟ้าสายสีฟ้ายกระดับ ข้ามทางพิเศษเฉลิมมหานคร บริเวณทางขึ้น-ลง ทางด่วนเพชรบุรี เลี้ยวซ้ายที่แยกวิทยุ-เพชรบุรี เข้าสู่แนวถนนวิทยุลงมาทางทิศใต้ ผ่านแยกเพลินจิต สถานทูตอเมริกา แยกสารสิน สวนลุมพินี ยกข้ามสะพานลอยไทย-เบลเยี่ยม ถนนพระรามที่ 4 ที่แยกวิทยุ เข้าสู่ถนนสาทร ผ่านแยกถนนสวนพลู ไปสิ้นสุดที่แยกสาทร-นราธิวาส จุดตัดถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี รวมระยะทาง 9.5 กิโลเมตร
จุดเชื่อต่อรถไฟฟ้าสายอื่นๆและจุดเชื่อมอาคาร จากสถานีรถไฟฟ้าสายสีฟ้า
ชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีฟ้า (รหัส) | รูปแบบสถานี | สถานีเชื่อมต่อเข้าอาคาร | สถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้า |
---|---|---|---|
สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ (W1) | - | สยามดิสคัฟเวอรี่, หอศิลป์วัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร, เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ | - |
สถานีรถไฟฟ้าสยาม (CEN) | - | เซ็นทรัลเวิลด์, สยามสแควร์วัน, สยามเซ็นเตอร์, สยามพารากอน, เอราวัณบางกอก, อัมรินทร์พลาซ่า, เกษรพลาซา | ![]() |
สถานีรถไฟฟ้าราชดำริ (S1) | - | - | - |
สถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง (S2) | - | ศูนย์การค้าสีลมคอมเพล็กซ์, อาคารธนิยะ, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ![]() |
สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี (S3) | - | อาคารสาธรธานี, อาคารสาธรสแควร์, อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์, อาคารมหานคร | ![]() ![]() |
สถานีรถไฟฟ้าศึกษาวิทยา (S4) | - | - | - |
สถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ (S5) | - | โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาธร | - |
สถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน (S6) | - | - | - |
สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี (S7) | - | - | ![]() |
สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ (S8) | - | - | ![]() ![]() |
สถานีรถไฟฟ้าโพธิ์นิมิตร (S9) | - | - | |
สถานีรถไฟฟ้าตลาดพลู (S10) | - | - | ![]() |
สถานีรถไฟฟ้าวุฒากาศ (S11) | - | - | ![]() |
สถานีรถไฟฟ้าบางหว้า (S12) | - | - | ![]() |
ที่ตั้ง สถานีรถไฟฟ้าสายสีฟ้าทุกสถานี
โครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้าเป็นเส้นทางรถไฟฟ้ายกระดับตลอดแนวเส้นทาง ที่ตั้งสถานีรถไฟฟ้าสายสีฟ้าทั้งหมด 9 สถานี ดังนี้
- สถานีรถไฟฟ้าประชาสงเคราะห์ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม (MRT) สถานีประชาสงเคราะห์ (โครงการ)
- สถานีรถไฟฟ้ามิตรไมตรี
- สถานีรถไฟฟ้าดินแดง
- สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) สายเฉลิมรัชมงคล สถานีเพชรบุรี, เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (Airport link) สายเชื่อมท่าอากาศยาน สถานีมักกะสัน, เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน สถานีมักกะสัน (อโศก) (โครงการ)
- สถานีรถไฟฟ้าเพชรบุรี
- สถานีรถไฟฟ้าเพลินจิต เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (BTS) สายสุขุมวิท สถานีเพลินจิต
- สถานีรถไฟฟ้าลุมพินี เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) สายเฉลิมรัชมงคล สถานีลุมพินี
- สถานีรถไฟฟ้าสวนพลู
- สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (BTS) สายสีลม สถานีช่องนนทรี, เชื่อมต่อรถโดยสานประจำทางด่วนพิเศษ (BRT) สายสาทร–ราชพฤกษ์ สถานีสาทร
ระบบรถไฟฟ้าสายสีฟ้า แก้ไข
- ระบบรถไฟฟ้า เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit) ใช้ระบบรถไฟฟ้าที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพได้เซ็นต์สัญญาว่าจ้าง มารุเบนิ และ โตชิบา เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้า โดยได้ทำการผลิตจากโรงงาน J-TREC โดยสัญญาดังกล่าวเป็นการสั่งซื้อรถไฟฟ้า 63 ตู้ 21 ขบวน (ต่อพ่วง 3 ตู้ – 1 ขบวนและสามารถเพิ่มได้สูงสุด 6 ตู้ – 1 ขบวนในอนาคต) โดยมีความจุประมาณ 320 คนต่อตู้ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
- ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
- โครงสร้างทางวิ่ง เป็นแบบยกระดับ สูงประมาณ 17-19 เมตรจากผิวถนน เพื่อให้สามารถข้ามผ่านสะพานลอยคนข้ามถนน, สะพานลอยรถยนต์ และสะพานลอยกลับรถได้ มีตอม่ออยู่กลางถนน ระยะห่างตอม่อสูงสุด 40 เมตร เพื่อลดผลกระทบต่อการจราจรทั้งในระหว่างก่อสร้างและเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ตอม่อมีลักษณะโปร่งบาง, สวยงาม, ไม่เทอะทะ และไม่ปิดบังอาคารบริเวณริมถนน
- ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ บริเวณต้นทางสถานีคลองบางไผ่
คอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีฟ้า
บ้านใกล้รถไฟฟ้าสายสีฟ้า
บ้านทาวน์โฮมใกล้รถไฟฟ้าสายสีฟ้า
สถานที่ใกล้เคียง รถไฟฟ้าสายสีม่วง
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าได้ที่
175 ถ.พระราม 9 ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 2716 4000
โทรสาร:2716 4019
Call Center: 2716 4044
อีเมลล์: PR@mrta.co.th
เว็บไซต์: https://www.mrta.co.th