โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (ตลิ่งชัน – มีนบุรี)

โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (Metropolitan Rapid Transit Orange Line, MRT Orange Line) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดิน และยกระดับ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางภายในเขตเมืองตามแนวตะวันออก – ตะวันตก เริ่มต้นจากแยกบางขุนนนท์ บริเวณจุดตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ และถนนบางขุนนนท์ ฝั่งธนบุรี เข้าสู่ย่านบางกอกน้อย แล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ย่านเมืองเก่าในเขตพระนคร, ป้อมปราบศัตรูพ่าย และดุสิต ผ่านสถานที่สำคัญเช่น สนามหลวง, ถนนราชดำเนิน, ภูเขาทอง, ตลาดมหานาค เข้าสู่ใจกลางเมืองย่านราชเทวี, ประตูน้ำ, ดินแดง ไปยังชุมชนประชาสงเคราะห์, ถนนวัฒนธรรม ออกสู่ถนนรามคำแหง, บางกะปิ, สะพานสูง มาสิ้นสุดเส้นทางที่เขตมีนบุรี ชานเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ
ปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือเส้นทางตะวันตกช่วงบางขุนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และเส้นทางตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – บางกะปิ – มีนบุรี ทั้งหมดอยู่ในแผนเร่งรัด 4 ปีของรัฐบาล โดยจะเริ่มก่อสร้างเส้นทาง มีนบุรี – บางกะปิ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้างโครงการในส่วนตะวันออกทั้งโครงการ คาดว่าจะเปิดใช้งานได้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2566 ส่วนโครงการช่วงตะวันตกเส้นทางบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ อยู่ในระหว่างการพิจารณาโครงการและร่างสัญญาโดยคณะรัฐมนตรี
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน – มีนบุรี (MRT Orange Line) มี 2 ช่วง คือ
- รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งระเทศไทย – มีนบุรี
- รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นระบบรถไฟฟ้าแบบใต้ดินและแบบยกระดับ มีระยะทางประมาณ 22.57 กิโลเมตร โดยแนวเส้นทางโครงการเริ่มต้นเป็นแบบใต้ดินจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน) ตัดเข้าพื้นที่ของ รฟม. วิ่งใต้แนวถนนพระราม 9 ลอดใต้ทางพิเศษสายฉลองรัฐ (ทางด่วนสายรามอินทรา – อาจณรงค์) เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกพระราม 9 ไปตามแนวถนนรามคำแหง ผ่านสี่แยกลำสาลี แนวเส้นทางเปลี่ยนเป็นแบบยกระดับ บริเวณใกล้หมู่บ้านสัมมากร ข้ามแนวถนนกาญจนาภิเษก ไปสิ้นสุดบริเวณแยกถนนรามคำแหงตัดกับถนนสุวินทวงศ์
ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ประกอบด้วยสถานีใต้ดิน 10 สถานี, สถานียกระดับ 7 สถานี, ปล่องระบายอากาศระหว่างสถานีและอาคารระบายอากาศ รวม 11 แห่ง, อาคารศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร 1 แห่ง
ช่วงที่ 1 : ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางกะปิ (กำลังก่อสร้าง)
เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางบางกะปิ – ราษฎร์บูรณะของสายสีส้มเดิม เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นเส้นทางเข้าสู่พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยที่ใช้ร่วมกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และยังเป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อการคมนาคมจากแหล่งที่พักอาศัยขนาดใหญ่ย่านบางกะปิเข้ากับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่กำหนดให้เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวนรอบกรุงเทพฯ
เส้นทางส่วนนี้เป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จากนั้นวิ่งตามแนวถนนวัฒนธรรม ออกสู่ถนนพระราม 9 ที่บริเวณหน้าที่ทำการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ผ่านแยกพระราม 9 – ประดิษฐ์มนูธรรม แล้วเข้าสู่ถนนรามคำแหง บริเวณแยกรามคำแหง ผ่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง, ราชมังคลากีฬาสถาน ไปสิ้นสุดเส้นทางที่แยกลำสาลีในย่านบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว – สำโรง) รวมระยะทางทั้งสิ้น 9 กิโลเมตร
ช่วงที่ 2 : บางกะปิ – มีนบุรี (กำลังก่อสร้าง)
เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 โดยเป็นส่วนต่อขยายของเส้นทางบางกะปิ – ราษฎร์บูรณะของสายสีส้มเดิม แต่ได้แยกออกมาเป็นรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล[6] เมื่อปี พ.ศ. 2548 และมีการปรับแผนแม่บทฯ รวมเอาเส้นทางสายสีน้ำตาลกลับเข้ามาเป็นสายสีส้มอีกครั้งในปี พ.ศ. 2552
เป็นเส้นทางยกระดับเกือบทั้งหมดตามแนวถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) เริ่มต้นจากโครงสร้างอุโมงค์ใต้ดินที่แยกลำสาลี ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับเส้นทางช่วงก่อนหน้านี้ ผ่านจุดตัดถนนศรีบูรพา จากนั้นจึงเริ่มยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเข้าสู่สถานีคลองบ้านม้า ผ่านหมู่บ้านสัมมากร ยกข้ามทางแยกต่างระดับรามคำแหงจุดตัดถนนกาญจนภิเษก ผ่านแยกลาดบัวขาว ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนมีนพัฒนา ผ่านเคหะรามคำแหง ไปสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีมีนบุรี บริเวณก่อนถึงแยกรามคำแหง-ร่มเกล้าซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู (แคราย – มีนบุรี) และเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงสำหรับเส้นทางส่วนนี้ร่วมกับสายสีชมพู รวมระยะทางทั้งสิ้น 11 กิโลเมตร
โครงการช่วงตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (อยู่ระหว่างเวนคืนที่ดิน)
เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 มาสู่แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2547 โดยต่อขยายแนวเส้นทางช่วงสามเสน (ซังฮี้) – ศูนย์วัฒนธรรมฯ – บางกะปิ ของเส้นทางสายสีส้มเดิมมาเป็นบางบำหรุ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ – บางกะปิ และในแผนแม่บท พ.ศ. 2553 ได้มีการแก้ไขเส้นทางโดยสลับกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน โครงข่ายในเมือง ที่ได้เปลี่ยนจากช่วงตลิ่งชัน-มักกะสัน มาเป็นบางบำหรุ-มักกะสัน และเปลี่ยนแปลงเส้นทางสายสีส้มส่วนนี้จากบางบำหรุ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ มาเป็นตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ และต่อมาในพ.ศ. 2554 ก็ได้มีการแก้ไขแบบแผนอีกครั้ง โดยตัดเส้นทางจากเดิมที่จะไปสิ้นสุดที่ตลิ่งชัน ให้มาสุดอยู่แค่แยกจรัญสนิทวงศ์เนื่องจากเส้นทางทับซ้อนกับสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน – ศาลายา ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มเหลือเพียงแค่ บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ ในที่สุด ใน พ.ศ. 2557 เกิดการคัดค้านการเวนคืนที่ดินหลายจุด เนื่องจากชุมชนประชาสงเคราะห์ไม่ยินยอมให้เวนคืนเพราะเป็นการทำรถไฟฟ้าใต้ดินที่จะจัดทำถนนขนาด 4 เลนตามแนวรถไฟฟ้าทำให้มีผู้เดือดร้อนจำนวนมาก ทำให้มีการเปลี่ยนแนวเส้นทางอีกครั้ง จากเดิมช่วงดินแดง – ศูนย์วัฒนธรรมฯ เป็น ดินแดง – พระราม 9 แทน ทำให้เส้นทางสายสีส้มตะวันตกกลายเป็น บางขุนนนท์ – พระราม 9 ในที่สุด แต่หลังจากการประชุมของคณะรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตามแนวเส้นทางเดิมตามแผนแม่บท เนื่องจากเส้นทางเดิมได้รับการอนุมัติเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) และเป็นเส้นทางที่ประชาชนรับทราบกันมาตั้งแต่ออกแผนแม่บทนี้เรียบร้อยแล้ว
แนวเส้นทางในส่วนตะวันตกเป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นจากบริเวณด้านใต้สถานีบางขุนนนท์ ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ในแนวตัดขวางกับถนนจรัญสนิทวงศ์ จากนั้นวิ่งผ่านสถานีรถไฟธนบุรี โรงพยาบาลศิริราช ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่แนวถนนราชดำเนินกลาง ผ่านสนามหลวง เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผ่านสะพานผ่านฟ้าลีลาศเข้าสู่แนวถนนหลานหลวง ผ่านตลาดมหานาค เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรีที่แยกยมราช ผ่านแยกอุรุพงษ์ แยกเพชรพระราม มาเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน หรือรถไฟฟ้า บีทีเอส สายสุขุมวิท ที่สถานีราชเทวี เลี้ยวซ้ายที่แยกประตูน้ำมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชปรารภ เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่สถานีราชปรารภ เบี่ยงขวาที่แยกสามเหลี่ยมดินแดงเข้าสู่ถนนดินแดง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิภาวดีรังสิต และเลี้ยวขวาลอดโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เข้าสู่ชุมชนประชาสงเคราะห์ และทะลุออกสู่ถนนรัชดาภิเษภด้วยการลอดผ่านศูนย์การค้าเอสพลานาด รัชดาภิเษก เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน – มีนบุรี
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นระบบรถไฟฟ้าแบบใต้ดินและแบบยกระดับ มีระยะทางประมาณ 22.57 กิโลเมตร โดยแนวเส้นทางโครงการเริ่มต้นเป็นแบบใต้ดินจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน) ตัดเข้าพื้นที่ของ รฟม. วิ่งใต้แนวถนนพระราม 9 ลอดใต้ทางพิเศษสายฉลองรัฐ (ทางด่วนสายรามอินทรา – อาจณรงค์) เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกพระราม 9 ไปตามแนวถนนรามคำแหง ผ่านสี่แยกลำสาลี แนวเส้นทางเปลี่ยนเป็นแบบยกระดับ บริเวณใกล้หมู่บ้านสัมมากร ข้ามแนวถนนกาญจนาภิเษก ไปสิ้นสุดบริเวณแยกถนนรามคำแหงตัดกับถนนสุวินทวงศ์
ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ประกอบด้วยสถานีใต้ดิน 10 สถานี, สถานียกระดับ 7 สถานี, ปล่องระบายอากาศระหว่างสถานีและอาคารระบายอากาศ รวม 11 แห่ง, อาคารศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร 1 แห่ง
จุดเชื่อต่อรถไฟฟ้าสายอื่นๆและจุดเชื่อมอาคาร จากสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม (รหัส) | รูปแบบสถานี | สถานีเชื่อมต่อเข้าอาคาร | สถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้า |
---|---|---|---|
สถานีรถไฟฟ้าบางขุนนนท์ (OR01) | ![]() ![]() | ||
สถานีรถไฟฟ้าศิริราช (OR02) | ![]() | ||
สถานีรถไฟฟ้าสนามหลวง (OR03) | |||
สถานีรถไฟฟ้าผ่านฟ้า (OR04) | ![]() | ||
สถานีรถไฟฟ้าหลานหลวง (OR05) | |||
สถานีรถไฟฟ้ายมราช (OR06) | ![]() | ||
สถานีรถไฟฟ้าราชเทวี (OR07) | ![]() | ||
สถานีรถไฟฟ้าประตูน้ำ (OR08) | |||
สถานีรถไฟฟ้าราชปรารภ (OR09) | ![]() | ||
สถานีรถไฟฟ้ารางน้ำ (OR10) | |||
สถานีรถไฟฟ้าดินแดง (OR11) | ![]() | ||
สถานีรถไฟฟ้าประชาสงเคราะห์ (OR12) | |||
สถานีรถไฟฟ้าศูนย์วัฒนธรรมฯ (OR13) | สถานีใต้ดืน | ![]() | |
สถานีรถไฟฟ้า รฟม. (OR14) | สถานีใต้ดืน | ||
สถานีรถไฟฟ้าวัดพระราม 9 (OR15) | สถานีใต้ดืน | ![]() | |
สถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง 12 (OR16) | สถานีใต้ดืน | ||
สถานีรถไฟฟ้าม.รามคำแหง (OR17) | สถานีใต้ดืน | ||
สถานีรถไฟฟ้า กกท. (OR18) | สถานีใต้ดืน | ||
สถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก (OR19) | สถานีใต้ดืน | ||
สถานีรถไฟฟ้าลำสาลี (OR20) | สถานีใต้ดืน | ![]() ![]() | |
สถานีรถไฟฟ้าศรีบูรพา (OR21) | สถานีใต้ดืน | ||
สถานีรถไฟฟ้าคลองบ้านม้า (OR22) | สถานีใต้ดืน | ![]() | |
สถานีรถไฟฟ้าสัมมากร (OR23) | สถานียกระดับ | ||
สถานีรถไฟฟ้าน้อมเกล้า (OR24) | สถานียกระดับ | ||
สถานีรถไฟฟ้าราษฎร์พัฒนา (OR25) | สถานียกระดับ | ||
สถานีรถไฟฟ้าวัดบางเพ็ง (OR26) | สถานียกระดับ | ||
สถานีรถไฟฟ้าเคหะรามคำแหง (OR27) | สถานียกระดับ | ||
สถานีรถไฟฟ้ามีนบุรี (OR28) | สถานียกระดับ | ![]() ![]() | |
สถานีรถไฟฟ้าสุวินทวงศ์ (OR29) | สถานียกระดับ | ||
ที่ตั้ง สถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทุกสถานี
โครงการก่อสร้างเป็นทางยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีทางวิ่งสูง 15 เมตร ชานชาลากว้าง 20-25 เมตร ยาว 110 เมตร สถานีซึ่งเป็นสถานียกระดับทั้งหมด ส่วนใหญ่มีชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารอยู่ชั้นที่ 2 และชั้นชานชาลาอยู่ชั้นที่ 3 ก่อสร้างอยู่เหนือพื้นที่ผิวจราจรของถนนสายหลัก มีโรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง อาคารและลานจอดแล้วจร 1 แห่ง บริเวณพื้นที่ทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม ที่ตั้งสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองทั้งหมด 23 สถานี ดังนี้
- สถานีรถไฟฟ้าบางขุนนนท์ (OR01)
- สถานีรถไฟฟ้าศิริราช (OR02)
- สถานีรถไฟฟ้าสนามหลวง (OR03)
- สถานีรถไฟฟ้าผ่านฟ้า (OR04)
- สถานีรถไฟฟ้าหลานหลวง (OR05)
- สถานีรถไฟฟ้ายมราช (OR06)
- สถานีรถไฟฟ้าราชเทวี (OR07)
- สถานีรถไฟฟ้าประตูน้ำ (OR08)
- สถานีรถไฟฟ้าราชปรารภ (OR09)
- สถานีรถไฟฟ้ารางน้ำ (OR10)
- สถานีรถไฟฟ้าดินแดง (OR11)
- สถานีรถไฟฟ้าประชาสงเคราะห์ (OR12)
- สถานีรถไฟฟ้าศูนย์วัฒนธรรมฯ (OR13) ตั้งอยู่บริเวณถนนรัชดาภิเษกด้านหน้าห้างสรรพสินค้าเอสพลานาด รัชดาภิเษก (เชื่อต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือ MRT ใต้ดิน)
- สถานีรถไฟฟ้า รฟม. (OR14) ตั้งอยู่ในพื้นที่ รฟม. บริเวณประตูด้านถนนพระราม 9
- สถานีรถไฟฟ้าวัดพระราม 9 (OR15) ตั้งอยู่ใต้ถนนพระราม 9 บริเวณสี่แยกพระราม 9 – ประดิษฐ์มนูธรรม
- สถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง 12 (OR16) ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขารามคำแหง
- สถานีรถไฟฟ้าม.รามคำแหง (OR17) ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง ด้านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
- สถานีรถไฟฟ้า กกท. (OR18) ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง ด้านหน้าสนามราชมังคลากีฬาสถาน
- สถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก (OR19) ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง ด้านหน้าโรงพยาบาลรามคำแหง
- สถานีรถไฟฟ้าลำสาลี (OR20) ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณสี่แยกลำสาลี (เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง)
- สถานีรถไฟฟ้าศรีบูรพา (OR21) ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3
- สถานีรถไฟฟ้าคลองบ้านม้า (OR22) ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณซอย 92 – 94
- สถานีรถไฟฟ้าสัมมากร (OR23) ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณใกล้หมู่บ้านสัมมากร
- สถานีรถไฟฟ้าน้อมเกล้า (OR24) ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง ด้านหน้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
- สถานีรถไฟฟ้าราษฎร์พัฒนา (OR25) ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง ด้านหน้าสำนักงานใหญ่ บริษัท มิสทีน
- สถานีรถไฟฟ้าวัดบางเพ็ง (OR26) ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง ด้านหน้าทางเข้าวัดบางเพ็งใต้ ตรงข้ามนิคม อุตสาหกรรมบางชัน
- สถานีรถไฟฟ้าเคหะรามคำแหง (OR27) ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง ด้านหน้าปากซอยรามคำแหง 184 ใกล้เคหะ รามคำแหง
- สถานีรถไฟฟ้ามีนบุรี (OR28) ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหงด้านทิศใต้ บริเวณสะพานข้ามคลองสองต้นนุ่น (เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีชมพู)
- สถานีรถไฟฟ้าสุวินทวงศ์ (OR29) ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหงด้านทิศใต้ บริเวณใกล้แยกสุวินทวงศ์
ระบบรถไฟฟ้าสายสีส้ม
- ระบบรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail Transit System) มีประสิทธิภาพสูง สามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง บนระบบรางความกว้างมาตรฐาน (Standard Gauge) ขนาด 1,435 มิลลิเมตร ซึ่งได้ถูกออกแบบให้สามารถใช้ความเร็วได้สูงสุดประมาณ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- รางรถไฟฟ้า ระบบรางรถไฟฟ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มี 2 แบบ คือ รางมาตรฐาน และ รางที่มีความแข็งของส่วนหัวราง ซึ่งโครงการนี้ใช้รางรถไฟฟ้าทั้งสิ้นประมาณ 7,978 ตัน
- โครงสร้างใต้ดิน โดยทั่วไปแล้ว การก่อสร้างแนวเส้นทางที่เป็นโครงสร้างใต้ดิน มีลักษณะเป็นการขุดเจาะอุโมงค์คู่ขนานกัน ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอุโมงค์ประมาณ 6.30 เมตร และอุโมงค์มีระยะห่างกันประมาณ 6.30 เมตร หากในพื้นที่บางแห่งที่ฐานรากของสะพานข้ามคลองหรือข้ามถนนที่มีอยู่ไปกีดขวางการขุดเจาะอุโมงค์ หรือมีพื้นที่จำกัดสำหรับงานขุดเจาะอุโมงค์ ลักษณะการก่อสร้างแนวเส้นทางในพื้นที่ดังกล่าว อาจเป็นการขุดเจาะอุโมงค์คู่ซ้อนกัน หรือก่อสร้างเป็นโครงสร้างรูปกล่อง (Cut & Cover Structure)
- โครงสร้างยกระดับ การก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ มีลักษณะเป็นสะพานยกระดับสำหรับวางรางรถไฟฟ้า และมีเสารองรับสะพานยกระดับทุกระยะ 30 -40 เมตร โดยส่วนของตัวสะพานเป็นโครงสร้างที่ใช้วิธีการก่อสร้างแบบชิ้นส่วนหล่อสำเร็จรูปในโรงงาน แล้วนำมาประกอบติดตั้งในพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อให้งานก่อสร้างสามารถดำเนินการได้รวดเร็ว
- โครงสร้างสถานี โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีรูปแบบสถานีรถไฟฟ้าทั้งแบบสถานีใต้ดิน และสถานียกระดับ โดยสถานีใต้ดิน มีจำนวน 10 สถานี และสถานียกระดับ มีจำนวน 7 สถานี
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีพื้นที่ขนาดประมาณ 160 ไร่ ตั้งอยู่บนที่ดินของ รฟม.ในท้องที่เขตห้วยขวาง อยู่ติดกับศูนย์ซ่อมบำรุงของรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล โดยศูนย์ซ่อมบำรุงของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ประกอบด้วยกลุ่มอาคารที่มีกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
- ศูนย์ควบคุมการเดินรถ และ สำนักงานบริหารและจัดการ (Operation Control Center and Administration Office)
- อาคารซ่อมบำรุงหลัก (Main Workshop)
- อาคารซ่อมบำรุงเสริม (Infra Workshop)
- โรงจอดรถไฟฟ้า (Stabling Yard)
- อาคารปรับสมดุลย์ล้อรถไฟฟ้า (Wheel Re – Profiling)
- โรงล้างรถไฟฟ้า (Wash Plant)
คอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีส้ม
บ้านใกล้รถไฟฟ้าสายสีส้ม
บ้านทาวน์โฮมใกล้รถไฟฟ้าสายสีส้ม
สถานที่ใกล้เคียง รถไฟฟ้าสายสีส้ม
สถานที่ท่องเที่ยวแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม
อัพเดทโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
[intense_blog post_type=”post” taxonomy=”post_tag” template=”three_text” categories=”อัพเดทโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม” order_by=”date” posts_per_page=”9″ show_author=”0″ read_more_text=”รายละเอียด” meta_show_comments=”0″ meta_show_author=”0″ show_filter=”0″ filter_effects=”fade, scale”]
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าได้ที่
175 ถ.พระราม 9 ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 2716 4000
โทรสาร:2716 4019
Call Center: 2716 4044
อีเมลล์: PR@mrta.co.th
เว็บไซต์: https://www.mrta.co.th