รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดร้าว – สำโรง

[intense_custom_post post_type=”post” taxonomy=”category” template=”three_text” categories=”yellow-line” posts_per_page=”9″ filter_effects=”fade, scale”]
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส สายศรีนครินทร์ เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งกระทรวงคมนาคมโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้เร่งรัดแผนงานจากกำหนดการเดิมในปี พ.ศ. 2572 มาอยู่ในช่วงแผนงานปัจจุบันคือ พ.ศ. 2562 ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนลาดพร้าว โดยจะเป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยว มีแนวเส้นทางอยู่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครและสิ้นสุดเส้นทางในจังหวัดสมุทรปราการ มีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ที่สถานีลาดพร้าวบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนลาดพร้าวจนถึงทางแยกบางกะปิ จากนั้นแนวเส้นทางจะเบนไปทางทิศใต้ตามถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่สถานีลำสาลี เชื่อมต่อกับสถานีหัวหมากของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) ไปตามแนวถนนศรีนครินทร์ ผ่านทางแยกพัฒนาการ, แยกสวนหลวง, แยกศรีอุดม, แยกต่างระดับศรีเอี่ยม จนถึงทางแยกศรีเทพา จากนั้นแนวเส้นทางจะเบนไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดยจุดสิ้นสุดของเส้นทางบริเวณสถานีสำโรง ระยะทางรวมประมาณ 30 กิโลเมตร
เดิมทีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองได้มีการพิจารณาออกเป็นหลายระบบหลายรูปแบบด้วยกันคือเป็นโครงสร้างใต้ดินแล้วยกระดับ หรือเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวจนถึงพัฒนาการแล้วเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้ารางหนัก หรือเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบาทั้งสาย หรือเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวทั้งสาย แต่จากการเสนอที่ผ่านมา ผลปรากฏว่าเป็นการออกแบบในส่วนของรถไฟฟ้ารางเดี่ยว
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว – สำโรง
เส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงินระยะแรก) ที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนลาดพร้าว โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาของกรุงเทพมหานครที่แยกฉลองรัช และยกระดับข้ามทางด่วนฉลองรัชจนถึงทางแยกบางกะปิ จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ตามถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ทางแยกลำสาลี ต่อจากนั้นแนวเส้นทางจะยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับพระราม 9 โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) และผ่านแยกพัฒนาการ แยกศรีนุช แยกศรีอุดมสุข แยกศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาอีกครั้งไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง และสิ้นสุดแนวเส้นทางบริเวณถนนปู่เจ้าสมิงพราย รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 30.4 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 23 แห่ง โรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง อาคารและลานจอดแล้วจร 1 แห่ง บริเวณพื้นที่ทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม
สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายอื่นๆและจุดเชื่อมอาคาร จากสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
ชื่อสถานี (รหัส) | รูปแบบ | เชื่อมต่ออาคาร | เชื่อมต่อรถไฟฟ้า |
---|---|---|---|
รถไฟฟ้า สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ (W1) | ยกระดับ | สยามดิสคัฟเวอรี่, หอศิลป์วัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร, เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ | - |
รถไฟฟ้า สถานีสยาม (CEN) | ยกระดับ | เซ็นทรัลเวิลด์, สยามสแควร์วัน, สยามเซ็นเตอร์, สยามพารากอน, เอราวัณบางกอก, อัมรินทร์พลาซ่า, เกษรพลาซา | ![]() |
รถไฟฟ้า สถานีราชดำริ (S1) | ยกระดับ | - | - |
รถไฟฟ้า สถานีศาลาแดง (S2) | ยกระดับ | ศูนย์การค้าสีลมคอมเพล็กซ์, อาคารธนิยะ, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ![]() |
รถไฟฟ้า สถานีช่องนนทรี (S3) | ยกระดับ | อาคารสาธรธานี, อาคารสาธรสแควร์, อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์, อาคารมหานคร | ![]() ![]() |
รถไฟฟ้า สถานีศึกษาวิทยา (S4) | ยกระดับ | - | - |
รถไฟฟ้า สถานีสุรศักดิ์ (S5) | ยกระดับ | โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาธร | - |
รถไฟฟ้า สถานีสะพานตากสิน (S6) | ยกระดับ | - | - |
รถไฟฟ้า สถานีกรุงธนบุรี (S7) | ยกระดับ | - | ![]() |
รถไฟฟ้า สถานีวงเวียนใหญ่ (S8) | ยกระดับ | - | ![]() ![]() |
รถไฟฟ้า สถานีโพธิ์นิมิตร (S9) | ยกระดับ | - | - |
รถไฟฟ้า สถานีตลาดพลู (S10) | ยกระดับ | - | ![]() |
รถไฟฟ้า สถานีวุฒากาศ (S11) | ยกระดับ | - | ![]() |
รถไฟฟ้า สถานีบางหว้า (S12) | ยกระดับ | - | ![]() |
ที่ตั้งสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองทุกสถานี
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าเป็นทางยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีทางวิ่งสูง 15 เมตร ชานชาลากว้าง 20-25 เมตร ยาว 110 เมตร สถานีซึ่งเป็นสถานียกระดับทั้งหมด ส่วนใหญ่มีชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารอยู่ชั้นที่ 2 และชั้นชานชาลาอยู่ชั้นที่ 3 ก่อสร้างอยู่เหนือพื้นที่ผิวจราจรของถนนสายหลัก มีโรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง อาคารและลานจอดแล้วจร 1 แห่ง บริเวณพื้นที่ทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม ที่ตั้งสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองทั้งหมด 23 สถานี ดังนี้
- สถานีรถไฟฟ้ารัชดา ตั้งอยู่หน้าอาคารจอดแล้วจรบนถนนรัชดาภิเษก เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานี…..
- สถานีรถไฟฟ้าภาวนา ตั้งอยู่ปากซอยภาวนา (ลาดพร้าว 41)
- สถานีรถไฟฟ้าโชคชัย 4 ตั้งอยู่หน้าศูนย์การค้าโชคชัย 4 (ลาดพร้าว 53)
- สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว 71 ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 71
- สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว 83 ตั้งอยู่บริเวณระหว่างซอยลาดพร้าว 83 กับซอยลาดพร้าว 85
- สถานีรถไฟฟ้ามหาดไทย ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 95 บรษัท ฟู๊ดแลนด์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัด(สาขาลาดพร้าว)
- สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว 101 ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 101 ใกล้ตลาดสดลาดพร้าว
- สถานีรถไฟฟ้าบางกะปิ ตั้งอยู่หน้าห้างแม็คโคร ใกล้กับห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางกะปิ
- สถานีรถไฟฟ้าลำสาลี ตั้งอยู่แยกลำสาลี(ด้านทิศใต้) เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานี…..
- สถานีรถไฟฟ้าศรีกรีฑา ตั้งอยู่แยกศรีกรีฑา (ด้านทิศใต้)
- สถานีรถไฟฟ้าพัฒนาการ ตั้งอยู่ระหว่างจุดตัดทางรถไฟและจุดตัดถนนพัฒนาการ เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ สถานี…..
- สถานีรถไฟฟ้ากลับตัน ตั้งอยู่หน้าธัญญะ ช็อปปิ้ง พาร์ค และบ้านกลางเมือง ศรีนครินทร์
- สถานีรถไฟฟ้าศรีนุช ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของแยกศรีนุช
- สถานีรถไฟฟ้าศรีนครินทร์ 38 ตั้งอยู่บริเวณปากซอยศรีนครนิทร์ 38 ใกล้ธนาคารกรุงไทย
- สถานีรถไฟฟ้าสวนหลวง ร.9 ตั้งอยู่ระหว่างห้างซีคอนแสควร์และห้างพาราไดซ์ พาร์ค
- สถานีรถไฟฟ้าศรีอุดม ตั้งอยู่บริเวณทางแยกศรีอุดม (ด้านทิศใต้)
- สถานีรถไฟฟ้าศรีเอี่ยม ตั้งอยู่บริเวณทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม (ด้านทิศเหนือของถนนบางนา-ตราด) จุดจอดแล้วจรและศูนย์ซ่อมบำรุง
- สถานีรถไฟฟ้าศรีลาซาล ตั้งอยู่แยกศรีลาซาล (ด้านทิศใต้)
- สถานีรถไฟฟ้าศรีแบริ่ง ตั้งอยู่แยกศรีแบริ่ง (ด้านทิศใต้)
- สถานีรถไฟฟ้าศรีด่าน ตั้งอยู่ใกล้กับแยกศรีด่าน (ด้านทิศเหนือ)
- สถานีรถไฟฟ้าศรีเทพา ตั้งอยู่ใกล้กับแยกศรีเทพา (ด้านทิศตะวันตก)
- สถานีรถไฟฟ้าทิพวัล ตั้งอยู่ปากซอยหมู่บ้านทิพวัล
- สถานีรถไฟฟ้าสำโรง ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดถนนสุขุมวิท เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีเขียว (ช่วงแบริ่ง-สำโรง) ที่สถานีสำโรง
ระบบรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
ระบบรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลของ บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล(ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้ความร่วมมือกับ บริษัท CRRC ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นผู้จัดหาให้ทั้งระบบอาณัติสัญญาณ ขบวนรถ และระบบขายตั๋วและจัดเก็บค่าโดยสาร ซึ่งขบวนรถที่ใช้จะเป็นรุ่นใหม่ล่าสุด คือ รุ่น Innova 300 เป็นโมโนเรลล้อยางขนาดใหญ่(ซูเปอร์โมโนเรล) โดย 1 ขบวนจะมี 4 ตู้ สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ปรtมาณ 10,000-40,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง มีความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ระยะเวลาดำเนินการ
ระยะเวลาตามสัญญา 3 ปี 3 เดือน แบ่งออกเป็น 2 ระยะได้แก่
ระยะที่ 1 : งานออกแบบและก่อสร้างโครงการ พร้อมติดตั้งระบบและขบวนรถไฟฟ้า ระยะเวลา 3 ปี 3 เดือน
ระยะที่ 2 : งานให้บริการเดินรถ ระยะเวลา 30 ปี
ทั้งนี้ ภายหลังได้มีการเซ็นสัญญากันไปแล้ว ทางรฟม.จะเริ่มทะยอยส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเข้าดำเนินการได้ทันที สำหรับงานก่อสร้างนั้นคาดว่าจะเริ่มลงมือได้ประมาณปลายปี 2560 โดยมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณเดือนสิงหาคม 2563 อย่างไรก็ตาม หากรฟม.ส่งมอบพื้นที่ให้กับบริษัทฯแล้ว ก็จะสามารถลงมือก่อสร้างได้ทันที และมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้โครงการนี้แล้วเสร็จเร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้
เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน จากพื้นที่รอบนอกกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงจังหวัดนนทบุรี ให้สามารถเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าสายหลัก ได้แก่ สายสีม่วง สายสีแดง สายสีเขียว สายสีส้ม และสายสีน้ำเงิน เพื่อเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และช่วยบรรเทาปัญหาจราจรในพื้นที่ของโครงการทั้งสองสาย
ขณะเดียวกัน ผู้โดยสารจะสามารถใช้บัตรโดยสารใบเดียว ทั้งบัตรประเภทเที่ยวเดียวและบัตรเติมเงิน(บัตรแมงมุม) เดินทางได้ทั้ง 3 ระบบ คือ สายสีเขียว สายสีชมพู และสายสีเหลือง โดยจะออกแบบให้เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบ Paid to Paid ที่ผู้โดยสารไม่ต้องออกนอกระบบ เพียงแตะบัตรเข้าและออกเพียงครั้งเดียว ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกสบายและรวดเร็วในการเดินทางให้กับผู้โดยสารมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ เพื่อให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว–สำโรง มีความสมบูรณ์ที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนที่จะสามารถเดินทางได้อย่างต่อเนื่อง สะดวกรวดเร็ว กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ได้เสนอ ข้อเสนอเพิ่มเติมในการสร้างส่วนต่อขยายสายสีเหลือง จากสถานีรัชดาไปเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่ถนนพหลโยธินบริเวณใกล้สี่แยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กิโลเมตรโดยจะใช้งบประมาณของกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์เองทั้งหมด
คอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
บ้านใกล้รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
บ้านทาวน์โฮมใกล้รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
สถานที่ใกล้เคียง สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
- บิ๊กซี ลาดพร้าว ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสถานีลาดพร้าว
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าได้ที่
175 ถ.พระราม 9 ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 2716 4000
โทรสาร:2716 4019
Call Center: 2716 4044
อีเมลล์: PR@mrta.co.th
เว็บไซต์: https://www.mrta.co.th